วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การรักษา

การปฐมพยาบาลเมื่อถูกแมงป่องต่อย

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แมงป่อง

Asian forest scorpion in Khao Yai National Park.JPG

แมงป่อง (Scorpion) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรพอด มีมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ซึ่งมีการค้นพบฟอสซิลของแมงป่องที่มีอายุถึง 440 ล้านปี เช่น Archaeobuthus estephani หรือ Protoischnurus axelrodorum [1]
แมงป่องเป็นสัตว์มีพิษ มีรูปร่างคล้ายปู ลำตัวยาวเป็นปล้อง ๆ ประมาณ 2-10 เซนติเมตร มีก้ามคล้ายก้ามปู 1 คู่ และลำตัวติดกัน มีขาเป็นปล้อง ๆ 4 คู่ติดอยู่ ท้องยาวออกไปเป็นหาง มี 5 ปล้อง ที่ปลายหางมีอวัยวะสำหรับต่อย (stinger) ไม่ชอบแสงสว่าง มักจะหลบซ่อนตัวอยู่ตามสถานที่มืดและชื้น เช่น ใต้ก้อนหิน ใต้กองไม้ ใต้ใบไม้ หรือขุดโพรงหรือรูอยู่ตามป่าละเมาะ และออกหากินในเวลากลางคืน ทั่วโลกมีแมงป่องประมาณ 1,200 ชนิด (species) [1]อยู่ทั้งในเขตทะเลทราย (desert) เขตร้อนชื้น (tropic) หรือแม้แต่แถบชายฝั่งทะเล พบชนิดที่มีพิษร้ายแรง 50 ชนิด [1]บางชนิดมีพิษรุนแรงมาก เช่น แมงป่องในสกุล Centruroides ที่รัฐอริโซน่า สหรัฐอเมริกา บราซิล เม็กซิโก และทะเลทรายซาฮาร่า
ในประเทศไทย มี 11 ชนิด [2] ที่พบบ่อยมากที่สุด คือ แมงป่องในอันดับ Scorpiones (หรือ Scorpionida) วงศ์ Scorpionidae สกุล Heterometrus ได้แก่ H. longimanus และ H. laoticus พบ H. laoticus มากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย [1]


พิษ
พิษของแมงป่องมีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ส่วนน้อยมีพิษต่อระบบโลหิต (hematotoxin) รอยแผลจะมีลักษณะคล้ายเข็มแทงรูเดียว บางครั้งอาจเป็นรอยไหม้

การใช้ประโยชน์

ชาวจีนนำมาปิ้งหรือย่าง กินแล้วช่วยขับลม ช่วยขับพิษอื่นๆ ทำให้เลือดลมดี และใช้แมงป่องอบแห้ง รักษาโรคหลายชนิด เช่น บาดทะยัก เก๊าท์ หลอดเลือดแดงอักเสบ เป็นต้น ในประเทศไทยใช้ดองเหล้ากิน บรรเทาอาการอัมพาต อัมพฤกษ์

แมงป่องแส้จะดูคล้ายแมงป่อง แต่หางเป็นเส้นๆ pedipalps ใหญ่แต่ไม่มีก้ามแบบปู ขาคู่หน้าเรียวแต่ไม่ยาวนักโดยพัฒนาไปเป็นอวัยวะรับสัมผัส สามารถปล่อยกลิ่นฉุนซึ่งเป็นสารประกอบของ acetic acid (80%) กับ caprylic acid ซึ่งปกติไม่ได้ใช้ล่าเหยื่อแต่จะใช้ป้องกันตัว ซึ่งพบว่าใช้ไล่แมลงอื่นๆที่จะมากินมันได้ อย่างมดหรือเห็บเป็นต้น

 การปฐมพยาบาลเมื่อถูกแมงป่องต่อย